3.2 เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม
3.1 ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Adobe Photoshop CC
3.3 ความหมายและความสำคัญของเลเยอร์ Layer
3.4 กลุ่มเครื่องมือในการตัดภาพ จับภาพ และลบภาพ3.1 ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Adobe Photoshop CC
1. เมนูของโปรแกรม
Application menu หรือ Menu bar ประกอบด้วย
1. File หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ
เช่น สร้างไฟล์ใหม่, เปิด, ปิด,
บันทึกไฟล์, นำเข้าไฟล์, ส่งออกไฟล์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์
2. Edit หมายถึง
รวมคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขภาพ และปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมเบื้องต้น เช่น
ก๊อปปี้, วาง, ยกเลิกคำสั่ง, แก้ไขเครื่องมือ และอื่น ๆ
3. Image หมายถึง
รวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี, แสง, ขนาดของภาพ (image size), ขนาดของเอกสาร (canvas),
โหมดสีของภาพ, หมุนภาพ และอื่น ๆ
4. Layer หมายถึง
รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์, แปลงเลเยอร์
และการจัดการกับเลเยอร์ในด้านต่าง ๆ
5. select รวม
คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection) เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือกเพื่อเปลี่ยนสี, ลบ หรือใช้เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ
6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น
Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ
เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
8. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง
Effects ต่าง ๆ
9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น
2. เมนูของพื้นที่ทำงาน
Panel menu
Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ
ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop
มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี,
พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์
และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์
รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้
3. พื้นที่ทำงาน
Stage หรือ Panel
เป็นพื้นที่ว่างสำหรับแสดงงานที่กำลังทำอยู่
4. เครื่องมือที่ใช้งาน
Tools panel หรือ Tools box
Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ
จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ
เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ
กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2
เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย
5. สิ่งที่ควบคุมเครื่องมือที่ใช้งาน
Tools control menu หรือ Option bar
Option Bar (ออปชั่นบาร์)
เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ
โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น
เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน)
บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
3.2 เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม Adobe Photoshop CC
Tool Bar แถบเครื่องมือ
Tool
Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ
จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ
เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ
กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2
เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย
ทำการแบ่งกลุ่มเครื่องมือได้ดังภาพต่อไปนี้
เครื่องมือแต่ละชิ้นมีคุณสมบัติดังนี้
ใช้สำหรับกำหนดสี-
Foreground Color และ Background Color
Option
bar สิ่งที่ควบคุมเครื่องมือที่ใช้งาน Tools control menu
สิ่งที่ควบคุมเครื่องมือที่ใช้งาน Tools control menu หรือ Option bar
สิ่งที่ควบคุมเครื่องมือที่ใช้งาน Tools control menu หรือ Option bar
Option
Bar (ออปชั่นบาร์)
เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น
เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน)
บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
Panel
menu เมนูของพื้นที่ทำงาน
Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ
ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี, พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์
รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้
Control
Bar
ใช้ในการเก็บการใช้งานโปรแกรม
การปิดโปรแกรมเมื่อไม่ต้องการใช้ แล้วยังสามารถจะย่อหน้าต่างโปรแกรมให้เล็กลงตามต้องการได้
ไว้ใช้ในกรณีใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ
มี 3 ปุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย
1. Minimize คือ การพับโปรแกรมมาเก็บไว้ที่ ทาร์สบาร์ด้านล่าง
2. Restorn คือ การย่อหน้าต่างโปรแกรม ให้เล็กลง หรือให้เต็มหน้าจอ
3. Close คือ การใช้ปิดโปรแกรมเมื่อไม่ต้องการใช้งาน
3.3 ความหมายและความสำคัญของเลเยอร์
Layer
เลเยอร์ Layer ชิ้นงานย่อย
หรือเรียกให้เข้าใจง่ายคือ ชั้นของชิ้นงานใหญ่ เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Photoshop
นั่นคือการนำชั้นต่างๆ
มาผสมกันเพื่อปรับแต่งให้เกิดความสวยงามมากขึ้น
Layer
แสดงหรือซ่อน (Show or Hide Layer) การคลิกที่รูปดวงตาแต่ละครั้ง
จะเป็นการเปิดเพื่อแสดง หรือปิดเพื่อซ่อนสิ่งที่อยู่ในเลเยอร์ เช่น
ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงภาพของเลเยอร์ใด ก็ทำการปิด หรือซ่อนไป
คัดลอก และ ทำซ้ำเลเยอร์ (Copy and Duplicate Layer) แบ่งเป็น การคัดลอกเลเยอร์จากชิ้นงานหนึ่งไปยังอีกชิ้นงานหนึ่ง ทำได้หลายวิธี
-
คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก ใช้โปรแกรมเมนู Edit เลือก Copy หรือกดปุ่ม Ctrl C คลิก Tab ของชิ้นงานที่เราต้องการจะให้เลเยอร์นั้นมาวางไว้แล้วคลิก
Edit เลือก Paste หรือกดปุ่ม Ctrl
V
-
คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก คลิกขวาที่เม้าส์ เลือก Duplicate Layer จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง
ใส่ชื่อในช่อง Destination ให้เป็นชื่อชิ้นงานที่เราต้องการนำเลเยอร์นี้ไปไว้
-
คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอกค้างไว้ แล้วลากไปยังอีก Tab ของอีกชิ้นหนึ่งโดยตรง
- การคัดลอกเลเยอร์ในชิ้นงานเดียวกัน
- คลิกที่เลเยอร์
ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Duplicate Layer จะมีหน้าต่างเหมือนภาพที่ด้านบนเช่นกัน
แต่ช่อง Destination ไม่ต้องกำหนดชื่อชิ้นงานอื่น
- คลิกที่เลเยอร์
ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก New เลือก Layer via Copy (คีย์ลัด Ctrl + J)
- คลิกที่เลเยอร์นั้น
และกดคีย์ Alt พร้อมกับลากเลเยอร์ไปยังตำแหน่งใน
Panel ที่ต้องการวาง ปล่อยเม้าส์
ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ (Move Layer)
ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านั้น
ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านั้น
เพิ่มเลเยอร์ (Add Layer)
เพียงแค่คลิกไอคอน Create a new Layer ซึ่งอยู่ด้านล่างของ Layer
Panel ติดกับรูปถัง ก็จะได้เลเยอร์เพิ่มแล้ว
หรือถ้าต้องการใช้คำสั่งจากเมนูโปรแกรม เลือก Layer เลือก New
เลือก Layer ตั้งชื่อ และ Enter ก็ได้เหมือนกัน
ลบเลเยอร์ (Delete Layer)
วิธีลบเลเยอร์ทำโดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Backspace หรือใช้โปรแกรมเมนู Layer
เลือก Delete เลือก Layer หรือโดยการคลิกที่เลเยอร์แล้วลากมาที่รูปถัง
การล็อค และ ปลดล็อคเลเยอร์ (Lock and Unlock Layer)
การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน
การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน
การปลดล็อคเลเยอร์ Background วิธีปลดล็อคทำได้โดย
ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ จะมีหน้าต่างดังภาพขึ้นมา จะตั้งชื่อเลเยอร์ใหม่หรือไม่ก็ได้
เลเยอร์นั้นก็จะปลดล็อคเป็นเลเยอร์ธรรมดา
วิธีตั้งชื่อให้กับเลเยอร์ ทำโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อบนเลเยอร์นั้น และพิมพ์ชื่อ เสร็จแล้ว Enter สำหรับ Photoshop CS6 เมื่อพิมพ์ชื่อเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว สามารถกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังเลเยอร์อื่นเพื่อทำการพิมพ์ชื่อได้เลย ไม่ต้องมาทำซ้ำขั้นตอนเดิม ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก
3.4 กลุ่มเครื่องมือในการตัดภาพ
จับภาพ และลบภาพ
เป็นกลุ่มเครื่องมือชุดแรกในกล่องเครื่องมือ
tools box ตามภาพ
มีให้เห็นทั้งหมด 6 ชิ้น แต่ยังมีเครื่องมือที่ซ่อนอยู่
ซึ่งสามารถหาได้จาก ลูกศรสามเหลี่ยมที่อยู่ทางด้านล่างซ้ายของเครื่องมือแต่ละชิ้น โดยเครื่องมือที่ซ้อนอยู่นั้น
มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเครื่องมือที่เห็น
แต่ลักษณะการใช้งานหรือรูปลักษณ์จะแตกต่างออกไป
1.Move tool หรือลูกศร มีคุณสมบัติเหมือนกับ mouse ใช้ในการเลือก
จับวัตถุ เคลื่อนย้ายวัตถุ เป็นเครื่องมือหลักของโปรแกรม Photoshop CC
2. Marquee tool หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกพื้นที่ของรูปภาพเพื่อทำการตัด
เคลื่อนย้าย หรือลบ ส่วนที่เลือกนั้น ทิ้งไป มีทั้งหมด 4 เครื่องมือ
ย่อย ตามรูปภาพ
3. Lasso tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่ง
โดยแตกต่างจาก Marquee tool ตรงที่ Marquee จะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม กับวงกลมตามที่กำหนด แต่ Lasso tool จะสามารถเลือกพื้นที่ได้อย่างอิสระ ตามที่เราจะลากเส้นไป ให้ล้อมรอบรูปภาพที่เราต้องการ
พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการลากตามเส้น แบบ Free hand
4. Quick Selection Tool และ Magic wand tool เป็นเครื่องมือในการเลือกพื้นที่อีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งสามารถเลือกได้รวดเร็ว มักใช้เลือกพื้นที่ที่ไม่ต้องการแล้วลบทิ้งเสียมากกว่า
เพราะใช้ง่าย เครื่องมือจะทำการกำหนดขอบเขตของพ้นที่โดยใช้
แสงสีของภาพเป็นตัวกำหนด เช่น หากภาพนั้นเป้นภาพที่มี background สีขาว เราต้องการลบพ้นที่สีขาวทิ้ง เพียงนำเครื่องมือนี้ไปคลิกที่
พื้นที่สีขาวแล้วกด delete พื้นที่สีขาวก็จะหายไปทั้งหมด
นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกเพื้นที่ได้รวดเร็วและประหยัดเวลา
แต่งานของเรา จะค่อนข้างไม่ละเอียด
5. Crop tool เป็นเครื่องมือในการกำหนดพื้นที่
ของรูปภาพที่ต้องการ เช่น 4:3 16:9 ฯลฯ
เพื่อตัดส่วนที่เกินออก
6. eyedropper tool เป็นเครื่องมือในการจำสีของรูปภาพ
พูดง่ายๆ คือ ดูดค่าสีของรูปภาพ เพื่อต้องการใช้ค่าสีนั้นในงานของเรานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น