วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หน่วยการเรียนที่ 5 เทคนิคการปรับแต่งภาพ

5.1 การใส่ Effect ด้วย Layer Style
5.2 การปรับแต่งภาพให้คมชัด
5.3 การปรับพื้นหลังให้โปร่งใส
5.4 การใส่กรอบให้กับภาพ
5.5 การตัดต่อภาพ

5.1 การใส่ Effect ด้วย Layer Style
การใส่เอฟเฟ็กส์สามารถกระทำได้ทั้งสองส่วนของภาพและข้อความ
style คือ วิธีการตกแต่งภาพใน Layer ให้มีคุณลักษณะพิเศษตามที่เราต้องการ เช่น การสร้างเงาของวัตถุ  การสร้างแสงให้ฟุ้งออกมาจากวัตถุ โดยรูปภาพในแต่ละ Layer สามารถเลือกใช้ style ในการปรับแต่งได้มากกว่า 1 แบบ เมื่อเราต้องการเรียกใช้ style ตกแต่งภาพใน Layer สามารถทำได้ 2วิธี คือ
วิธีที่ 1
1. สร้างชิ้นงาน ขึ้นมาใหม่ ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

2. เลือก Layer ที่จะใส่ เอฟเฟ็กต์ จากนั้น คลิ๊กเลือกที่ เมนู Layer แล้วเลือก Layer Style เลือกแบบ Style ตามที่นักเรียนต้องการ

 3. นักเรียนสามารถเลือก Blending Option เพื่อจะปรับแต่งในส่วนของ Effect ทั้งหมดและยังสามารถดูตัวอย่าง ของ เอฟเฟ็กต์ที่นักเรียนเลือกปรับแต่งได้

4. เมื่อนักเรียนคลิ๊กเลือก Blending Option แล้วนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ปรับแต่ง Effect ดังภาพด้านล่าง นักเรียนสามารถ ติ๊กเลือก เอฟเฟ็กต์ ที่นักเรียนต้องใส่ได้เลย
แถบสีเขียว       คือ รูปแบบเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ
แถบสีส้ม         คือ ส่วนของการตั้งค่ารูปแบบ เอฟเฟ็กต์ ที่นักเรียนทำการเลือก
แถบสีน้ำตาล     คือ ส่วนที่จะนำค่าเอฟเฟ็กต์ไปใช้ หรือยกเลิกการตั้งค่า

วิธีที่ 2
1. คลิ๊กเลือก Layer ที่จะใส่เอฟเฟ็กต์ จากนั้น เลือกสัญลักษณ์ fx เพื่อจะเรียกใช้งานเอฟเฟ็กต์ ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

2. จะปรากฎหน้าต่างให้นักเรียนเลือก Blending Option เพื่อจะทำการปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ให้กับชิ้นงาน

3. เมื่อนักเรียนคลิ๊กเลือก Blending Option จะปรากฏหน้าต่างให้นักเรียนเลือกปรับแต่ง เหมือนวิธีแรกที่นักเรียน

4. จะได้หน้าต่างขึ้นมาดังภาพ

5. เลือกใส่เอฟเฟ็กต์ที่ต้องการแล้ว Layer ที่นักเรียนเลือกนั้น จะมีสัญลักษณ์ fx ต่อท้ายชื่อเลเยอร์ และจะบอกรูปแบบที่ใช้ในเลเยอร์นั้น ๆ ด้วย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

6. เสร็จวิธีการเลือกใช้ เอฟเฟ็กต์ ให้กับชิ้นงาน


5.2 การปรับแต่งภาพให้คมชัด
1. เปิดภาพหรือไฟล์ที่ภาพเบลอหรือไม่คมชัด

2. สร้าง Layer Copy โดยกด Ctrl + J โดยตั้งชื่อให้เหมือนกัน

3. เติมแต่งสีสันให้สดใสขึ้นด้วย Image > Color Balance..
        
4. ปรับค่าตามความสมควรให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น      

5. หลังจากแต่งสีแล้ว เรามาแต่งแสงด้วย Image >Adjustments>Curves...

6. เลื่อนจุดกลางทีละนิด เพื่อไล่แสงและเงาให้สมจริงขึ้น

7. หลังจากนั้นมาเพิ่มความคมชัดอีกขึ้นด้วย Filter > Sharpen > Smart Sharpen...                

8. ปรับค่า Radius ทีละนิด ค่อยๆปรับไปจนคมชัดพอดี
             

ผลลัพธ์ที่ได้


5.3 การปรับพื้นหลังให้โปร่งใส
1. เปิดโปรแกรม Photoshop ขั้นมาจากนั้นคลิกที่ File -> Open เพื่อเปิดรูปภาพวัตถุที่ยังไม่ได้ทำการตัดภาพพื้นหลัง ขึ้นมาแก้ไขบนโปรแกรม 

2. ให้คลิกขวา Layer ที่ชื่อ Background และเลือก Duplicate Layer.. (วิธีนี้เป็นการ Copy Layer ที่ชื่อ Background)   

3. จะเห็นได้ว่าตอนนี้มี Layer อยู่ 2 Layer ให้ทำการปิดการแสดงวัตถุของ Layer ที่ชื่อ Background โดยให้สังเกตุที่รูปดวงตา ตรงข้างหน้า Layer ต้องไม่มีรูปดวงตา

4. คลิกทำงานบน Layer ที่มีชื่อว่า Test และคลิกเครื่องมือที่มีชื่อว่า Magic Wand Tool 

5. หลังจากเลือกที่เครื่องมือ Magic Wand Tool จากนั้นให้คลิกพื้นที่ๆ ต้องการลบออกให้เป็นพื้นที่โปร่งใส (ในตัวอย่างคือพื้นที่สีม่วงที่จะต้องการให้เป็นพื้นที่โปร่งใส) เมื่อคลิกลงบนพื้นหลังสีม่วงแล้ว จะปรากฏเส้นประล้อมรอบพื้นที่ๆ ที่เราเลือกไว้ นั้นหมายความว่าเรากำลังเลือกพื้นที่นั้นอยู่ กด Delete ออก      


6. เป็นขั้นตอนสุดท้าย นั้นคือขั้นตอนการบันทึกรูปภาพ ให้เราคลิกไปที่แท็บเมนู File -> Save for Web

       ตั้งค่าชนิดของไฟล์เป็น PNG-24 และกด SAVE เลือกปลายทางที่ต้องการบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ จากนั้นกด Save ดังตัวอย่างบันทึกลงบนหน้า Desktop


       เลือกปลายทางที่ต้องการบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ จากนั้นกด Save ดังตัวอย่างบันทึกลงบนหน้าDesktop     
              

5.4 การใส่กรอบให้กับภาพ
1. เปิดรูปภาพที่เราต้องการขึ้นมา แล้วเลือกใช้เครื่องมือ Rectangular Marquee Tool โดยเลือกแบบกรอบสี่เหลี่ยมก่อน (หรืออาจจะใช้ Elliptical Marquee Tool ก็จะเป็นการเลือกแบบกรอบโค้ง วงรี หรือ วงกลม)


2. เลือกพื้นที่ที่ต้องการให้เป็นกรอบภาพ แล้วแต่ความเหมาะสม หรือตามที่ต้องการ 

3. ไปที่เมนู Select -->Inverse เพื่อทำการกลับส่วนที่เราได้เลือกไว้จากตรงกลางภาพไปเป็นส่วนด้านขอบ ๆ ของภาพดังรูป

4. ไปที่เมนู Edit > Clear เพื่อลบส่วนที่เลือก (ขอบ) นั้นทิ้งไปจะได้พื้นที่ว่างๆขึ้นมาบริเวณขอบรูปภาพ 



7. ตกแต่งขอบรูปเพิ่มเติมตามต้องการดังภาพ

เทคนิคการสร้างกรอบเน้นรูปภาพให้โดดเด่น
       ในการแยกกรอบของรูปภาพเพื่อให้ดูชัดเจนขึ้นนั้น ทำได้โดยเพิ่มความหนาของเส้นขอบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีเส้นขอบเพื่อให้กรอบรูปภาพดูลงตัวมากขึ้น อีกทั้งอาจเพิ่มเงาของกรอบรูปให้ภาพดูมิติมากขึ้นได้
1. กด Ctrl+R เพื่อใช้เครื่องมือที่เป็นรูปภาพไม้บรรทัด ดังรูป
3. คลิกและลากเมาส์เป็นรูปสี่เหลี่ยมตรงบริเวณที่ต้องการเน้นเป็นหลัก เพื่อให้ภาพดูคมชัดยิ่งขึ้น ดังรูป

4. จากนั้นไปที่แถบเมนูด้านบน คลิก Select
5. คลิก Inverse เพื่อทำการสลับพื้นที่ระหว่างพื้นที่ถูกเลือกและพื้นที่ไม่ถูกเลือก ดังภาพ

6. กดคีย์บอด Ctrl+J เพื่อสลับพื้นที่ไปยังส่วนที่ไม่ได้เลือกบน Layer นั้น
7. คลิกปุ่ม Layer >Layer Style
8. คลิก Stoke บนเมนูจะเห็นว่ากล่อง Layer Style จะปรากฎขึ้นมา



9. เลือก Center ในแถบเมนู Positions

10. คลิกและสไลด์ Size เพื่อเพิ่มความหนาของเส้น
11. เลือกสะไตล์ Layer ที่ชอบ ตัวอย่างเช่น Bevel & Emboss แล้วทำเครื่องหมายถูกเพื่อให้ภาพออกมาสมบูรณ์ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ดังภาพ
       ในกรณีที่รูปภาพของเรานั้นมีพื้นหลังกว้างมาก แต่ภาพถ่ายของเรามีความคมชัด หรือความละเอียดไม่เพียงพอที่จะทำการ Crop หรือ Resize ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนพื้นที่ส่วนเกินมาทำเป็นกรอบรูป ก็จะช่วยเสริมจุดโฟกัสของภาพให้เด่นได้อีกทางหนึ่ง การสร้างกรอบรูปจากภาพเอง เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วเป็นวิธีที่ทำให้ภาพออกมามีความคลาสสิกอีกด้วย โดยเราเลือกรูปภาพที่คุณชอบจากนั้นก็ทำการ Invert เพื่อสลับพื้นที่ของภาพให้กลายเป็นกรอบรูป ยังสามารถทำกรอบรูปในรูปร่างที่แตกต่างได้นอกเหนือจากรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจเลือกสร้างกรอบแบบวงรี โดยการกำหนดเส้นกรอบของรูปให้มีลักษณะเป็นวงรี ในการทำกรอบรูปด้วยรูปภาพเองได้ด้วย

5.5 การตัดต่อภาพ
       สำหรับ Adobe Photoshop CC นั้นมีความสำคัญและความสามารถในการตัดต่อภาพได้อย่างหลากหลายและมีประสิทธิภาพ และต่อไปเป็นขั้นตอนการตัดต่อภาพเบื้องต้น
1. ขั้นตอนแรกเตรียมรูปภาพที่ต้องการตัดต่อ มา 2 รูป

2. เปิดโปรแกรม Photoshop CC และ Open ไฟล์รูปภาพทั้งสองรูปภาพขึ้นมา
3. ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Quick Selection Tool หรือ Magic Wand Tool และค่อยๆลากตามเส้นของภาพที่ต้องการตัดต่อ

4. ดึงภาพมาใส่อีกภาพที่เตรียมไว้ด้วยเครื่องมือ MoveTool

5. ไปที่ภาพที่เราต้องการวาง กด Ctrl + T เพื่อปรับขนาดรูปภาพให้สอดคล้องกับบรรยากาศรอบข้างของภาพที่ต้องการนำไปใช้ แล้วคลิกปุ่ม OK


วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หน่วยการเรียนที่ 4 การใช้เครื่องมือพื้นฐาน

4.1 การสร้างชิ้นงาน
4.2 การบันทึกงานในโปรแกรม
4.3 การแทรกข้อความ Type
4.4 การแทรกภาพ

4.1 การสร้างชิ้นงาน
1.       ไปที่ Application menu เลือก File > New จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด่านล่าง

2.       จากรูปมีการกำหนดค่าต่างๆมากมาย 
-      ช่อง Name คือการกำหนดชื่อของชิ้นงาน
-      ช่อง Preset คือ ชนิดของงานต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้แล้ว มีให้เลือกมากมาย เช่น Web , Photo ,U.S.paper , international paper
-      ช่อง size จะสัมพันธ์กับช่อง Preset คือ ขนาดของงานแต่ละชนิด เช่น ค่า Preset เป็น International paper ช่อง Size ก็จะมีตัวเลือก คือ A4 , A3 , A2 ,A1 และอื่นๆ
-      ช่อง width คือขนาดความกว้างของชิ้นงาน หากต้องการกำหนดเอง มีหน่วนให้เลือก 7 ชนิด
-      ช่อง Hight คือขนาดความสูงของชิ้นงาน 
-      ช่อง Resolution คือ ความละเอียดของงาน มีหน่วยเป็น Pixelต่อนิ้ว และ Pixel ต่อเซนติเมตร
-      ช่อง Color mode คือชนิดของพื้นที่สีในการทำงาน มีให้เลือกหลากหลาย เช่น RGB , CMYK และมีค่าความละเอียดให้เลือกเป็น bit
-      ช่อง Background Contents คือเลือกชนิดของ พื้นหลังงาน มี 3 แบบ คือ แบบขาว แบบสี และแบบโปร่งใส
3.       เมื่อทำการกำหนดขนาดของงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิปปุ่ม OK เพื่อทำการเปิดพื้นที่การทำงานดังตัวอย่างภาพ เปิดพื้นที่งานขนาด A4 พื้นหลัง สีขาว

   
4.2 การบันทึกงานในโปรแกรม
-      สมมุติว่า เราได้แต่งรูป พระทราย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องการบันทึกการทำงาน ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

 -  ไปที่ File > Save as จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด้านล่าง
-      ช่อง File name คือให้เราตั้งชื่องาน
-      ช่อง Format คือ การบันทึกไฟล์งานประเภทต่าง ๆ เช่น PSD , JPEG , TIFF และอื่นๆ 
-      เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Save ก็จะทำการบันทึกสำเร็จ

4.3  การแทรกข้อความ Type
การใส่ข้อความในชิ้นงาน
Photoshop CC สามารถพิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความยาว ๆ ลงบนภาพได้ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ได้คล้ายกับโปรแกรม Microsoft Wordเช่น ฟอนต์ (Font) ขนาดและสีตัวอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด วิธีจัด ข้อความในย่อหน้า และอื่น ๆ ตัวอักษร (Type) จัดเป็นภาพประเภทเวคเตอร์แบบหนึ่ง ดังนั้น จึงย่อ หรือขยายให้มีขนาดเท่าไรก็ได้ โดยที่ยังคมชัดเหมือนเดิม นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนตัวอักษร เป็นรูปทรง และเส้นพาธเพื่อนำไปดัดแปลง รูปร่าง และเปลี่ยนเป็นภาพราสเตอร์ เพื่อปรับแต่งด้วยเครื่องมือระบายสี และเครื่องมือปรับสี หรือแสงเงา ต่าง ๆ ได้
กลุ่มเครื่องมือ Type

Horizontal Type  คือ  ใช้พิมพ์ข้อความแนวนอน
Vertical Type คือ ใช้พิมพ์ข้อความแนวตั้ง
Horizontal Type Mask คือ ใช้สร้าง Selection เป็นรูปข้อความในแนวนอน
Vertical Type Mask คือ ใช้สร้าง Selection เป็นรูปแบบข้อความในแนวตั้ง 



















แถบ
 Option Bar ของ ตัวอักษร Type
แถบสีแดง  คือ ส่วนที่ใช้เปิดเครื่องมือ Preset Pigger
แถบสีส้ม  คือ การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
แถบสีเขียว  คือ ลักษณะของตัวอักษร เช่น ตัวหนา  ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ และแบบปกติ
แถบสีเหลือง   คือ  ขนาดของตัวอักษรที่จะให้ปรากฏ
แถบสีฟ้า  คือ ปรับรูปทรงของตัวหนังสือ
แถบสีม่วง  คือ  การจัดตำแหน่งข้อความบนชิ้นงาน
แถบสีน้ำตาล  คือ การกำหนดสีของตัวอักษร
แถบสีชมพู  คือ  การปรับความโค้งมนของข้อความ
แถบสีเขียวอ่อน  คือ การปรับค่า Toggle ตัวอักษร แบบละเอียด
แถบสีเทา  คือ การยกเลิก และนำไปใช้ ของการตั้งค่าข้างต้นทั้งหมด
แถบสีน้ำเงิน  คือ รูปแบบอักษร 3 มิติ

ส่วน Option Type เพิ่มเติมที่เรียกว่า Toggle จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ส่วนของ Character 
2.ส่วนของ Paragraph  

ส่วนที่ 1 ส่วนของ Charecter




























ส่วนที่ 2 ส่วนของ Paragraph









เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ส่วนประกอบของเครื่องมือ Type หรือตัวอักษร ต่อมานักเรียนจะได้รู้วิธีการใส่ตัวอักษร หรือข้อความ บนชิ้นงานของนักเรียน

1.       สร้างชิ้นงาน Project ขึ้นมาใหม่โดยให้ตั้งชื่อ Project ว่า Type ดังภาพ

2.    จะปรากฏหน้าต่างออกแบบชิ้นงาน คลิ๊กเครื่องมือ “Type” จากนั้นให้พิมพ์ข้อความลงบนหน้าต่างออกแบบ เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จแล้วนั้น ให้ปรับแต่ง ข้อความ โดยไปที่ ส่วนของ Option Bar ดังภาพด้านล่าง ให้นักเรียนสังเกตทางด้านขวามือจะเห็นว่ามีเลเยอร์ปรากฏเพิ่มขึ้นมา เลเยอร์นั้นคือ เลเยอร์ข้อความนั้นเอง
3.     ถ้านักเรียนต้องการจะกลับมาแก้ไขส่วนของข้อความ นักเรียนจะต้องมาคลิ๊ก เลือกที่เลเยอร์ข้อความนั้นก่อนแล้วถึงจะสามารถแก้ไขได้
4.     เสร็จขั้นตอนการใส่ข้อความ 


4.4 การแทรกภาพ
วิธีที่ 1 การแทรกแบบใช้คำสั่ง Open

1.       เปิดโปรแกรม Photoshop CC แล้วสร้างชิ้นงานขึ้นมาใหม่

2.       ให้นักเรียน ไปที่ เมนู File เลือก Open

3.       จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา นักเรียนไปเลือกภาพที่ต้องการได้เลย ตามภาพด้านล่าง

4.       เมื่อนักเรียนนำภาพเข้ามาในโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนสังเกตแถบสีแดง นั้น คือ แถบชื่อของภาพที่นักเรียนนำเข้ามา

5.      ให้นักเรียนคลิ๊กที่แถบ แล้วทำการลากออกมาจากกรอป ตามตัวอย่างภาพด้านล่าง

6.      จากนั้นให้นักเรียน เลือก เครื่องมือที่เรียกว่า Move แล้วคลิ๊กที่ภาพลากมาไว้ในส่วนของชิ้นงานนักเรียน

7.       เมื่อลากเข้ามาแล้ว ให้นักเรียนปรับขนาดของภาพ โดย กด Ctrl + T เพื่อใช้คำสั่ง Free Transform ปรับขนาดที่นักเรียนต้องการ

8.       เสร็จวิธีการแทรกรูปภาพเข้าไปในชิ้นงาน



    วิธีที่ 2 การลากไฟล์ภาพเข้ามาใส่ในโปรแกรม
1.      ให้นักเรียนเปิด โฟล์เดอร์ที่เก็บรูปภาพที่นักเรียนต้องการ จากนั้นก็คลิ๊ก ภาพ ลากเข้ามาใส่ในชิ้นงานภายในโปรแกรม Photoshop ได้เลย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

2.      เมื่อนำภาพเข้ามาแล้ว ให้นักเรียนปรับขนาดภาพ ตามต้องการ ถ้านักเรียนต้องการที่ ย่อ ขยายภาพให้ยังคงความสมดุลของภาพ ก็ให้กด ปุ่ม Shift ไปด้วย ขณะที่ทำการย่อภาพ เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้ว ให้นักเรียน กดปุ่ม Enter กรอบที่ล้อมรูปภาพก็จะหายไป

3.       เสร็จขั้นตอนการแทรกรูปภาพในวิธีที่ 2